กฎหมายชาวบ้าน ให้คำปรึกษากฎหมาย ฟรี กฎหมายชาวบ้าน
ปรึกษากฎหมาย และคดีความ
เกี่ยวกับเรา ติดต่อเรา งานรับว่าความ ปรึกษากฎหมายทางอีเมล์ เว็บบอร์ดสอบถามกฎหมาย
สำนักงาน เอนก ทนายความ เบอร์โทรศัพท์ : 086 055 0569 เว็บไซต์ : www.chawbanlaw.com Email : chawbanlaw@gmail.com
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ สำนักงาน ศาลยุติธรรม ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ สภาทนายความ ราชกิจจานุเบกษา ห้องสมุดกฎหมาย กรมบังคับคดี กรมศุลกากร ห้องสมุด ศาลยุติธรรม เนติบัณฑิตสภา กรมสรรพากร ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ สภาผู้แทนราษฎร ศาลแพ่ง รัชดา สำนักงานอัยการสูงสุด กรมสรรพสามิต ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ วุฒิสภา ศาลอาญา รัชดาฯ ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลยุติธรรม สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สำนักงานประกันสังคม กรมราชทัณฑ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมที่ดิน ศาลอาญากรุงเทพใต้ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ศาลแรงงานกลาง ศาลล้มละลายกลาง ศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงาน ศาลปกครอง ศาลภาษีอากรกลาง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรมธนารักษ์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานคุ้มครองพยาน - กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สำนักงาน กสทช ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ศาลแพ่งตลิ่งชัน ศาลแพ่งพระโขนง ศาลจังหวัดสมุทรปราการ กรมการขนส่งทางบก กฎหมายชาวบ้าน มรดกที่เป็นหนี้สินของผู้ตาย  ตามกฎหมาย มรดกของคนตายไม่ได้มีแต่เพียงทรัพย์สินแต่อย่างเดียว มรดกของผู้ตายยังหมายความ รวมไปถึงหนี้สิน ของผู้ตายด้วย ในส่วนของหนี้สินของผู้ตายนั้น ถือเป็นมรดกในส่วนของหน้าที่ หรือความรับผิด ของผู้ตายซึ่งมีอยู่ในขณะที่มีชีวิต และกรณีเมื่อเสียชีวิตแล้ว หากหนี้สินนั้นยังมีอยู่ ก็จะตกทอดเป็นมรดกไปยัง ทายาทของผู้ตายด้วยเช่นเดียวกันกับมรดกที่เป็นทรัพย์สิน เป็นธรรมดาของเรา หากเราจะได้รับมรดกเราก็ต้องอยากได้แต่ทรัพย์มรดกที่เป็นทรัพย์สินมีค่ามีราคาเท่า นั้น มรดกอย่างอื่นที่เป็นหนี้สิน หรือมรดกที่เกี่ยวกับความรับผิดชอบต่างๆ ก็คงไม่อยากจะได้ หากเราจะเลือกเอา แต่มรดกที่เป็นทรัพย์สิน แต่ไม่เอามรดกที่เป็นหนี้สิน แบบนี้ก็ทำไม่ได้อีก สุดท้ายก็คงต้องรับสภาพรับมาทั้งหมด อยู่ดี แต่จริงๆ แล้ว หากเราได้มาทำความเข้าใจในเรื่องของมรดกที่เป็นหนี้อย่างถูกต้อง มรดกที่มีแต่หนี้นี้ก็ไม่ น่าจะใช้ปัญหาที่เราจะต้องเอามาคิดให้กลุ้มใจแต่อย่างใด เพราะตามกฎหมายไม่ได้บังคับให้ทายาทต้องนำ ทรัพย์สินของตัวเอง เอาไปใช้หนี้แทนผู้ตาย แต่กฎหมายกำหนดให้ทายาทเป็นตัวแทนของผู้ตาย ในการนำเอา ทรัพย์สินของผู้ตายไปใช้หนี้ก่อนเท่านั้น แม้ว่าหนี้สินของคนตายนั้น กฎหมายจะถือว่าเป็นมรดกที่สามารถตกทอดไปยังหาทายาทของผู้ตายด้วย อย่างหนึ่ง แต่หนี้สินของผู้ตายอย่างไรเสียก็ถือว่าเป็นหนี้ของผู้ตายอยู่ตามเดิม ไม่ใช่หนี้สินของทายาทที่จะต้อง เข้ามารับผิดชอบโดยตรง ดังนั้นหากจะให้ทายาทที่ไม่รู้ราวอะไรด้วยมารับผิดชอบในหนี้สินนั้น เป็นการส่วนตัว และทั้งหมดแล้ว ก็ดูจะไม่เป็นธรรมกับทายาทของผู้ตาย ดังนั้นเมื่อหนี้เป็นของผู้ตายๆ ก็ควรจะต้องรับผิดชอบเอง ด้วยการนำเอาทรัพย์สินมรดกของผู้ตายที่มีอยู่มาชดใช้ชำระหนี้สินที่มีก่อน เมื่อใช้หนี้หมดแล้ว หากทรัพย์สินของ ผู้ตายยังเหลืออยู่ ก็เป็นมรดกตกไปยังทายาทต่อไป แต่หากนำมาชำระหนี้แล้ว ทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้ ขาดเหลือ อยู่เท่าไหร่ ทายาทก็ไม่ต้องรับผิดชอบ โดยหลักแล้วก็คือ ทายาทของผู้ตายไม่ต้องรับผิดชอบในหนี้สินของผู้ตาย มากไปกว่าหรือเกินไปกว่าทรัพย์มรดกที่ตัวเองได้รับมาจากผู้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1601 ที่บัญญัติว่า “ทายาทไม่จำต้องรับผิดเกินกว่าทรัพย์มรดกที่ตกทอดได้แก่ตน” กลับหน้าแรก กลับหน้า กฎหมายมรดก