กฎหมายชาวบ้าน ให้คำปรึกษากฎหมาย ฟรี กฎหมายชาวบ้าน
ปรึกษากฎหมาย และคดีความ
เกี่ยวกับเรา ติดต่อเรา งานรับว่าความ ปรึกษากฎหมายทางอีเมล์ เว็บบอร์ดสอบถามกฎหมาย
สำนักงาน เอนก ทนายความ เบอร์โทรศัพท์ : 086 055 0569 เว็บไซต์ : www.chawbanlaw.com Email : chawbanlaw@gmail.com
Last updated: 06/19/2023 07:15:30
Copyright © 2010-2025, เว็บไซต์ กฎหมายชาวบ้าน / www.Chawbanlaw.com . All rights reserved.
เว็บไซต์ที่น่าสนใจ สำนักงาน ศาลยุติธรรม ศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์ สภาทนายความ ราชกิจจานุเบกษา ห้องสมุดกฎหมาย กรมบังคับคดี กรมศุลกากร ห้องสมุด ศาลยุติธรรม เนติบัณฑิตสภา กรมสรรพากร ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ สภาผู้แทนราษฎร ศาลแพ่ง รัชดา สำนักงานอัยการสูงสุด กรมสรรพสามิต ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ วุฒิสภา ศาลอาญา รัชดาฯ ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ศาลยุติธรรม สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ สำนักงานประกันสังคม กรมราชทัณฑ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา กรมสอบสวนคดีพิเศษ กรมที่ดิน ศาลอาญากรุงเทพใต้ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงยุติธรรม กรมพัฒนาธุรกิจการค้า สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ศาลแรงงานกลาง ศาลล้มละลายกลาง ศาลรัฐธรรมนูญ สำนักงาน ศาลปกครอง ศาลภาษีอากรกลาง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กรมธนารักษ์ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานคุ้มครองพยาน - กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ สำนักงาน กสทช ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ศาลแพ่งตลิ่งชัน ศาลแพ่งพระโขนง ศาลจังหวัดสมุทรปราการ กรมการขนส่งทางบก กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิด เกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี กลับหน้า ประมวลกฎหมายที่ดิน กลับหน้าแรก หมวด 8 การกำหนดสิทธิในที่ดินของคนต่างด้าว ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 คนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินก็โดยอาศัยบทสนธิสัญญาซึ่งบัญญัติให้มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้ และอยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วย ภายใต้บังคับมาตรา 84 คนต่างด้าวดังกล่าวจะได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย ประกอบกิจการ ในทางพาณิชยกรรม อุตสาหกรรม เกษตรกรรม การสุสาน การกุศลสาธารณะ หรือการศาสนา ต้องเป็นไป ตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวง และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 87 จำนวนที่ดินที่จะพึงอนุญาตให้ตามความในมาตราก่อน มีกำหนดดังนี้ (1) ที่อยู่อาศัย ครอบครัวละไม่เกิน 1 ไร่ (2) ที่ใช้เพื่อพาณิชยกรรม ไม่เกิน 1 ไร่ (3) ที่ใช้เพื่ออุตสาหกรรม ไม่เกิน 10 ไร่ (4) ที่ใช้เพื่อเกษตรกรรม ครอบครัวละไม่เกิน 10 ไร่ (5) ที่ใช้เพื่อการศาสนา ไม่เกิน 1 ไร่ (6) ที่ใช้เพื่อการกุศลสาธารณะ ไม่เกิน 5 ไร่ (7) ที่ใช้เพื่อการสุสาน ตระกูลละไม่เกิน ไร่ คนต่างด้าวผู้ใดต้องการมีสิทธิในที่ดินเพื่อการอุตสาหกรรมเกินกว่าที่บัญญัติไว้ใน (3) ถ้าเห็นเป็นการ สมควร คณะรัฐมนตรีจะอนุญาตให้ได้มาซึ่งที่ดินเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้ โดยกำหนดเงื่อนไขก็ได้ และให้ นำบทบัญญัติมาตรา 48 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 88 บทบัญญัติในมาตรา 87 มิให้กระทบกระเทือนแก่ที่ดินของคนต่างด้าวที่มีอยู่แล้ว เกินกำหนดตามความ ในมาตรา 87 ก่อนวันที่ประมวลกฎหมายนี้ใช้บังคับ ส่วนผู้ที่มีที่ดินอยู่แล้วน้อยกว่ากำหนด หรือผู้ที่ได้จำหน่าย ที่ดินเดิมของตนไป อาจได้มาซึ่งที่ดินได้อีก แต่รวมแล้วต้องไม่เกินกำหนดตามมาตรา 87 ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 89 เมื่อคนต่างด้าวได้รับอนุญาตให้ได้มาซึ่งที่ดินเพื่อกิจการใด ผู้รับอนุญาตต้องใช้ที่ดินเพื่อกิจการนั้น จะใช้เพื่อกิจการอื่นไม่ได้ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตให้ใช้เพื่อกิจการอื่นใหม่ตามจำนวนที่ไม่เกินกำหนดใน มาตรา 87 ถ้าจะไม่ใช้ที่ดินตามที่ได้รับอนุญาตนั้นต้องแจ้งให้ทราบตามแบบและวิธีการที่กำหนดในกฎ กระทรวง ภายในกำหนดสามสิบวันนับแต่วันไม่ใช้ที่ดินนั้น คนต่างด้าวผู้ใดประสงค์จะใช้ที่ดินเพื่อกิจการอื่นใหม่ ให้ขออนุญาตใหม่ต่อรัฐมนตรีตามแบบและวิธี การที่กำหนดในกฎกระทรวง ถ้ารัฐมนตรีเห็นสมควรก็ให้มีอำนาจอนุญาต ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 90 คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้มีและใช้ที่ดินเพื่อกิจการใด ถ้าไม่ใช้ที่ดินนั้นต่อไป หรือได้ใช้ที่ดินเพื่อ กิจการอื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตใหม่ ให้จัดการจำหน่ายที่ดินนั้นภายในเวลาที่อธิบดีกำหนด ซึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่ง ร้อยแปดสิบวัน แต่ไม่ให้เกินหนึ่งปี ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 91 คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ที่ดินเพื่อกิจการใด ถ้าได้รับอนุญาตใหม่ ให้ใช้ที่ดินนั้นเพื่อกิจการอื่น ซึ่งจำนวนที่ดินที่ได้รับอนุญาตนี้ลดลง ให้จำหน่ายที่ดินส่วนที่เกินนั้นภายในเวลาที่อธิบดีกำหนด ซึ่งไม่น้อย กว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน แต่ไม่ให้เกินหนึ่งปี ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 92 คนต่างด้าวผู้ใดได้รับอนุญาตให้ได้มาซึ่งที่ดินตามความในมาตรา 87 วรรคสอง ถ้าไม่ได้ปฏิบัติตาม เงื่อนไขที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ให้จำหน่ายที่ดินส่วนที่ได้รับอนุญาตให้ได้มาเกินกว่าจำนวนที่กำหนดไว้นั้น ภายในเวลาที่อธิบดีกำหนด ซึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน แต่ไม่ให้เกินหนึ่งปี ถ้าพ้นกำหนดเวลาดังกล่าว ให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 93 คนต่างด้าวได้มาซึ่งที่ดินโดยได้รับมรดกในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรม รัฐมนตรีจะอนุญาตให้ได้มา ซึ่งที่ดินนั้น แต่เมื่อรวมกับที่มีอยู่แล้วไม่เกินจำนวนที่จะพึงมีได้ ตามความในมาตรา 87 ก็ได้ ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94 บรรดาที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ได้รับอนุญาต ให้คนต่างด้าวนั้น จัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ซึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปี ถ้าไม่ จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น และให้นำบทบัญญัติเรื่องการบังคับ จำหน่ายที่ดินตามความในหมวด 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 95 ผู้ใดได้มาซึ่งที่ดินในขณะที่มีสัญชาติไทย ถ้าภายหลังผู้นั้นเปลี่ยนสัญชาติเป็นคนต่างด้าว ให้คงมีสิทธิ ถือที่ดินได้เท่าที่คนต่างด้าวนั้นจะพึงมี นอกจากนั้นให้ทำการจำหน่าย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 94 มาใช้ บังคับโดยอนุโลม ประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 96 เมื่อปรากฏว่าผู้ใดได้มาซึ่งที่ดินแห่งใดในฐานะเป็นเจ้าของแทนคนต่างด้าว หรือนิติบุคคลตามความ ในมาตรา 97 หรือมาตรา 98 ให้อธิบดีมีอำนาจทำการจำหน่ายที่ดินนั้น และให้นำบทบัญญัติมาตรา 94 มาใช้บังคับโดยอนุโลม